วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ศูนย์ฝึกพาณิชยนาวีมีหลักสูตรอะไรให้เรียนบ้าง

เมื่อท่านได้อ่านเรื่อง “ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีคืออะไร” แ้ล้ว ต่อไปนี้เราจะแจกแจง ว่าศูนย์ฝึกมีหลักสูตรอะไรให้เรียนอยู่ตอนนี้ และมันแตกต่างกันอย่างไง ปัจจุบันสำหรับเด็กนักเรียนที่ต้องการเข้าศึกษาจะต้องจบการศึกษาอย่างน้อย ม.6 หรือ ปวส. สามารถสมัครได้ 3 หลักสูตร ดังนี้คือ
1.หลักสูตรปกติ (ใช้เวลาเรียน 5ปี)
2.หลักสูตรพิเศษ (ใช้เวลาเรียน 3.5ปี)
3.หลักสูตรประกาศนีย์บัตรเดินเืรือพาณิชย์ (ใช้เวลาเรียน 2.5ปี)
มาเริ่มต้นแจกแจงรายละเอียดกันเลยดีกว่าครับ
1.หลักสูตรปกติ (ใช้เวลาเรียน 5ปี)
เป็นหลักสูตรที่เปิดควบคู่กับศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีมาเนิ่นนาน หลักเกณฑ์คือรับสมัครเด็กนักเรียนที่จบ ม. 6 สายวิทยาศาสตร์ อายุไม่เกิน 21 ปีเท่านั้น เกรดเกิน 2.00 ขึ้นไป พร้อมกับคะแนนสอบสวนกลาง มีให้เลือก 2 สาขาคือ ฝ่ายปากเรือ 2.ฝ่ายห้องเครื่อง โดยผู้ที่สมัครจะได้รับการสอบกำลังกาย โดยการว่ายน้ำ และทำข้อสอบจากศูนย์ฝึกเอง เมื่อผ่านจะได้สอบสัมภาษณ์ และสอบร่างกาย ถ้าผ่านก็จะได้เรียนโดยปีแรก นักเรียนหลักสูตรนี้จะต้องพักในหอพักที่ทางศูนย์ฝึกได้จัดให้ แต่เฉพาะปีหนึ่งครับ
แล้วจบมาจะได้อะไรบ้างหละ อย่างแรกก็คือ ได้ปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาการเดินเรือ สำหรับผู้ที่เลือกเรียนสาขาเดินเรือ และปริญญาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาเครื่องกลเรือ สำหรับผู้ที่เลือกเรียนสาขาเครื่องกลเรือ นอกจากนี้แล้วทั้งสองหลักสูตรจะได้ประกาศนียบัตรผู้สำเร็จการศึกษา เพื่อนำเอกสารตัวนี้ไปเป็นหลักฐานเพื่อสมัครสอบที่กรมเจ้าท่า เืพื่อให้ได้ประกาศนียบัตรผู้ทำงานในเรือ
2.หลักสูตรพิเศษ (ใช้เวลาเรียน 3.5ปี)
อาจมีคนเรียกว่าหลักสูตร ชกพ.(ช่างกลพิเศษ) เป็นหลักสูตรที่เปิดโอกาศให้คนที่จบการศึกษาระดับ ปวส. ในหลักสูตรช่างกลทุกแขนง ช่างไฟฟ้า ช่างแมคาทรอนิค ช่างอุตสาหการ อายุไม่เกิน 25 ปี เกรดเกิน 2.00 โดยการสอบเข้าจะใช้หลักเกณฑ์เช่นเดียวกับฝ่ายปกติ โดยนักเรียนที่จะสมัครหลักสูตรนี้ มีให้เลือกแค่สาขาเดียวได้แก่ ฝ่ายห้องเครื่อง
สำหรับหลักสูตรนี้เมื่อจบการศึกษาแล้ว จะได้ประกาศนียบัตรผู้สำเร็จการศึกษา เพื่อนำไปเป็นหลักฐานสมัครสอบที่กรมเจ้าท่า สอบประกาศนียบัตรผู้ทำงานในเรือ
3.หลักสูตรประกาศนีย์บัตรเดินเืรือพาณิชย์ (ใช้เวลาเรียน 2.5ปี)
หลักสูตรสุดท้ายเป็นหลักสูตรที่เพิ่มเปิดใหม่ได้ไม่กี่ปี เนื่องจากการผลิตผู้ที่ทำงานในเรือในช่วง 5-6 ปี ก่อนหน้านี้ ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ดังนั้นจึงเปิดหลักสูตรนี้เพื่อผลิตบุคลากรเพื่อทำงานได้ทันความต้องการของ ตลาด โดยคุณสมบัติคือจบ ม. 6 สายวิทยาศาสตร์ อายุไม่เกิน 21 ปีเท่านั้น เกรดเกิน 2.00 ขึ้นไป พร้อมกับคะแนนสอบสวนกลาง มีให้เลือก 2 สาขาคือ ฝ่ายปากเรือ 2.ฝ่ายห้องเครื่อง โดยผู้ที่สมัครจะได้รับการสอบกำลังกาย โดยการว่ายน้ำ และทำข้อสอบจากศูนย์ฝึกเอง เมื่อผ่านจะได้สอบสัมภาษณ์ และสอบร่างกาย เช่นเดียวกับหลักสูตรปกติ
การเรียนการสอนจะใกล้เคียงกับหลักสูตรปกติ แต่ตัดเนื้อหาวิชาที่ไม่จำเป็นสำหรับการทำงาน จำพวกพื้นฐานวิทยาศาสตร์และวิชาบังคับออกไป ดังนั้นจึงใช้ระยะเวลาน้อย แต่จะไม่ได้ปริญญาเหมือนหลักสูตรปกติ เมื่อจบการศึกษาจะได้ประกาศนียบัตรผู้สำเร็จการศึกษา เพื่อนำไปเป็นหลักฐานสมัครสอบที่กรมเจ้าท่า สอบประกาศนียบัตรผู้ทำงานในเรือ
ดังนั้นจะเห็นว่าการทำงานในเรือ ปริญญานั้นไม่ใช่สิ่งสำคัญ แต่ผู้ที่จะทำงานในเรือได้นั้นจำเป็นจะต้องมีประกาศนียบัตรผู้ทำงานในเรือ จากกรมเจ้าท่า ซึ่งประเทศไทยได้เป็นประเทศภาคีกับอนุสัญญา STCW ซึ่งว่าด้วย คุณสมบัติผู้ทำการในเรือสากล ดังนั้นประกาศนียบัตรผู้ทำงานในเรือที่ออกจากกรมเจ้าท่า ก็เปรียบเหมือนออกโดยประเทศไทย และสามารถนำไปปฏิบัติงานในเรือสากลทุกประเทศที่อยู่รวมในอนุสัญญา STCW ดังกล่าวนี้

ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีคืออะไร

หลายคนคงเคยดูรายการกบนอกกะลามาแล้ว แล้วก็อยากจะเรียนพาณิชย์นาวี แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะเหมาะกับเรือไหม เป็นแค่เด็กมัฐยมปลายตัวเล็ก ๆ ที่ยังไร้เดียงสา อ. แนะแนวก็ไม่ค่อยบอกเลย หาข้อมูลที่ไหนก็ไม่ได้อะไรเลย ตอนนี้ผมจะมาตอบแจ้งแถลงไขกันให้ทราบว่า ถ้าอยากจะเรียนพาณิชย์นาีวีต้องทำอย่างไร ดังนั้นต้องมาเริ่มที่ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาีวีกันก่อนเลย

ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี ก่อตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 12 เมษายน 2515 จวบจนถึงปัจจุบันก็จะมีอายุครบ 40 ขวบแล้ว ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี เป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงกับสังกัดกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม จ. สมุทรปราการ มีหน้าที่ผลิตบัณฑิตเพื่อไปทำหน้าที่เป็นผู้ทำการบนเรือสินค้า ไม่ใช่เรือรบของราชการหรอกน๊ะ จบมาก็ไม่ได้ยศด้วย เหมือนกับเป็นมหาลัยทางพาณิชย์นาวีเลยก็ได้ โดยจบมาแล้วจะได้เป็นประกาศนียบัตร เพื่อน้ำไปสมัครสอบประกาศนียบัตรผู้ทำการบนเรือ ที่กรมเจ้าท่าอีกที นอกจากนี้แล้วศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี ยังมีหน้าที่หลักในการให้การอบรมแ่ก่ผู้ที่ต้องการจะไปทำงานบนเรือด้วย ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศ ซึ่งประกาศนียบัตรทุกใบที่ออกจากศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี มีศักดิ์และศรีเทียบเท่ากับประเทศที่เข้าร่วมอนุสัญญาระหว่างประเทศทุก ประการ

พอมาถึงจุดนี้ผู้อ่านก็จะเริ่มสงสัยแล้วซิว่า เป็นแค่ศูนย์ฝึกแต่ทำไมสามารถมอบปริญญาได้ด้วย เนื่องจากศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีได้ทำการปรับปรุงหลักสูตรให้มีหลักวิชาและ หน่วยกิต จนสามารถขอวิทยฐานะของนักเรียนได้ แต่เนื่องจากกฏเกณฑ์ในการพิจารณาการออกปริญญา ทางศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีจึงได้ทำข้อตกลงร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพา เป็นผู้ออกปริญญารองรับนักเรียนของศูนย์ฝึกนั่นเอง

คนที่สนใจที่จะเรียนพาณิชย์นาวีก็เริ่มคิดแล้วว่า ถ้าเรียนแล้วได้ปริญญาเหมือนกัน อย่างนี้ก็เหมือนเรียนมหาลัยซิ ถ้าคุณคิดเช่นนั้น แปลว่าคุณคิดถูกต้องแล้วครับ แต่จะแตกต่างที่ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีย์ไม่มีการรับจากส่วนกลาง มีแต่สอบตรงอย่างเดียวโดยการยื่นคะแนนสอบจากส่วนกลางที่คุณใช้สอบเข้า มหาวิทยาลัยนั่นแหละ เมื่อยื่นคะแนนแล้ว ก็จะมีการทดสอบร่างกาย เช่น ว่ายน้ำ ซิทอัพ วิ่งร้อยเมตร คล้ายกับสอบเข้านักเรียนนายร้อยเลยทีเดียว อีกอย่างความเป็นอยู่จะค่อนข้างไปในแล้วทางโรงเรียนนายร้อยคือมีกฏเกณฑ์ให้ ปฏิบัติ เชกเ่ช่นทหาร แต่อย่าได้สับสนไปน๊ะ ผู้ที่จบจากศูนย์ฝึกจะไม่ได้ยศทางราชการใด ๆ ทั้งสิ้นครับ นักเรียนที่จะทำงานในแขนงนี้จำเป็นจะต้องมีความแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ มีการทำข้อสอบพื้นฐาน และสุดท้ายก็เป็นการสอบสัมภาษณ์ ซึ่งคิดว่าไม่ยากสำหรับผู้ี่ที่มุ่งมั่นจะเรียนพาณิชย์นาวี

ผู้อ่านคงจะคิดต่อไปว่าแล้วอย่างนี้ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี เปิดสอนสาขาอะไรบ้าง อะไร ยังไง งงไปหมด ไม่ต้องงงครับ คืออย่างนี้ ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี เปิดสอน 2 หลักสูตร เพื่อให้ได้บัณฑิต (หรืออาจไม่ใช่บัณฑิต) ที่สามารถทำงานบนเรือ โดยแบ่งออกเป็น 3 แผนกตามโครงสร้างการทำงานหลักบนเรือดังนี้

1. นักเรียนเดินเรือพาณิชย์ ฝ่ายเดินเรือ

2. นักเรียนเดินเรือพาณิชย์ ฝ่ายห้องเครื่อง

ผู้ที่จบจากศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี และสอบผ่านประกาศนียบัตรผู้ทำการบนเรือ ก็จะมีสามารถทำงานบนเรือได้ ที่บอกว่าเรือนิไม่ใช่เรือแจว หรือเรือรบ เรือประมง เรือข้ามฝาก แต่เป็นเรือที่มีหน้าที่ในการรับสินค้าจากท่าเรือหนึ่งไปยังอีกท่าเรือหนึ่ง ซึ่งอาจจะมาในรูปสินค้าเทกอง เช่น ข้าวสาร ปูน น้ำตาล อาจจะมาในรูปของตู้คอนเทนเนอร์ หรืออาจจะมาในรูปแบบของของเหล็ว เช่น น้ำมัน สารเคมี และ ก๊าซ อาจจะมีพนักงานเรือไทยอย่างเดียว หรือมีเราเป็นคนไทยคนเดียวในเรือได้เช่นกัน ดังนั้นผู้ที่จะสามารถทำงานได้จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้เฉพาะทางในด้านต่าง ๆ และภาษาอังกฤษที่ดี โดยในเรือแต่ละประเภทก็แบ่งแยกออกเป็น 2 แผนกใหญ่ ๆ ด้วยกันได้แ่ก่

1. ฝ่ายเดินเรือ (ส่วนใหญ่เรียกกันว่า ฝ่ายปากเรือ)

ฝ่ายปากเรือ ภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า Deck department มีหน้าที่ในการ ทำสินค้าเมื่อเรือเทียบท่า นำเรือไปยังจุดหมายปลายทาง (ขับเรือ ถ้าเรียกเป็นภาษาชาวบ้าน น๊ะครับ ) ดูแลส่วนที่เกี่ยวข้องกับสินค้า อุปกรณ์เดินเรือ เครื่องมือเครื่องไม้ที่เกี่ยวข้องกับการเดินเืรือและทำสินค้า

2. ฝ่ายห้องเครื่อง

ฝ่ายห้องเครื่อง (Engine department) มีหน้าที่ในการดูแลเครื่องจักรใหญ่ (เครื่องยนต์ที่หมุนใบจักรเรือ) เครื่องจักรช่วย เช่น เครื่องไฟ เรือปั่นไฟใช้เองตลอดเวลาครับ และก็เครื่องจักรอื่น ๆ อีกมายมายที่สนับสนุนเครื่องจักรใหญ่ ปั๊มน้ำ ปั๊มน้ำดับเพลิง มากมายก่ายกอง

3. ฝ่ายโภชนาการ

ฝ่ายนี้ถือว่าเป็นปากท้องของคนที่ทำงานบนเรือเลย เรือที่มีขนาดเล็กส่วนใหญ่ จะมีเพียงคนเดียว ถ้าเป็นเรือขนาดใหญ่ถึงใหญ่มากอาจมีถึง 3-4 คนเลย ซึ่งอยู่ที่ขนาดของเรือ ด้วย ฝ่ายนี้ไม่ต้องเรียนครับ แต่อบรมพื้นฐานนิดหน่อยที่ศูนย์ฝึกก็สามารถทำงานบนเรือได้แล้ว แต่รสชาติอาหารนิต้องไปจัดการกันเองน๊ะครับ

นี่คือ 3 ฝ่าย คราว ๆ ที่ทำงานกันบนเรือครับ กล่าวมาหอมปากหอมคอแล้ว หวังว่าผู้อ่านจะได้ติดตามในหัวข้อถัดไปน๊ะ ยังไงถ้าสนใจอยากเรียน ขอแนะนำให้หาเวลาว่างเข้าไปขอคำปรึกษาที่ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีได้เลยครับ ที่อยู่

ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม
120 ม.7 ซ.เทศบาล6 (บางนางเกรง) ถ.สุขุมวิท ต.บางด้วน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 10270
โทรศัพท์ ::: 0 2756 4971-80 โทรสาร ::: 0 2384 7063
E-mail :

แต่ไม่รู้เป็นอะไรผมโทรไปไม่ค่อยจะติดหรอกโทรศัพท์เนี่ย